1.กระดาษอาร์ตมัน มี 90G , 105, 130G , 160G
2.กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า มี 190G , 210G , 230G , 260G , 310G , 360G
3.กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า มี 210G , 230G , 250G , 300G, 350G
4.กระดาษถนอมสายตา Green Read มี 60G , 70G
5.กระดาษปอนด์ขาว มี 70G , 80G , 100G , 120G
6.กระดาษอาร์ตด้าน นีเวีย 90G , 128G , 157G , 190G
7.กระดาษกล่องแป้งหลังเทา มี 270G , 300G , 350G , 400G , 450G
8.กระดาษกล่องแป้งหลังขาว มี 250G , 270G , 300G , 350G , 400G , 450G
9.กระดาษนอกนำเข้า และกระดาษอื่นๆอีกมากมาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงาน และยังมีกระดาษอีกหลากหลายชนิดที่ที่ไม่ค่อยนิยมได้ใช้กัน
กระดาษขนาดต่างๆที่เป็นขนาดมาตรฐานที่เรานิยมใช้กันจะเป็นของตระกูล A มาตราฐานของกระดาษ ISO 216
เป็นข้อกำหนดมาตรฐานกระดาษสากลของ ISO ว่าด้วยขนาดกระดาษ ที่ใช้กันในหลายประเทศในปัจจุบัน ซึ่งรวมไปถึง
ขนาดกระดาษที่คนรู้จักและนิยมใช้กันมากที่สุดคือ A4 มาตรฐานสากลนี้มีพื้นฐานมาจากสถาบันเยอรมัน
เพื่อการมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมนี มาตรฐานรหัส 476 (DIN 476) ในปี พ.ศ. 2535
โดยประเทศไทยก็นิยมใช้กระดาษตระกูล A ด้วยเช่นกัน
การออกแบบงานพิมพ์เราควรจะทราบขนาดกระดาษมาตรฐานไว้ เพื่อจะได้ไม่เสียเศษกระดาษ ทำให้ต้นทุนไม่สูง เพราะถ้าตัดกระดาษเสียเศษจะทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง เพราะถ้าไม่รู้ขนาดมาตรฐานของกระดาษ ก็จะหาวิธีคำนวน ที่ลงตัวไม่ได้ แต่การทำงานจริง บางทีลูกค้าอาจจะไม่ทราบขนาดของกระดาษแผ่นใหญ่ ลูกค้าก็สามารถแจ้งขนาด ของชิ้นงาน แบบสำเร็จให้กับทาง โรงพิมพ์ ได้เลยครับ และทาง โรงพิมพ์ เราจะหาวิธีคำนวนให้ต้นทุนถูกที่สุด เพื่อให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องกระดาษ ครับ
ขนาดกระดาษมาตราฐาน โรงพิมพ์ ***กระดาษปอนด์, อาร์ตมัน, อาร์ตด้าน, ปรู๊ฟ มีอยู่ 3 ขนาดคือ
ขนาด 24 x 35 นิ้ว
ขนาด 25 x 36 นิ้ว
ขนาด 31 x 43 นิ้ว
ขนาดกระดาษมาตราฐาน โรงพิมพ์ ***กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า, อาร์ตการ์ด 1 หน้า มีอยู่ 2 ขนาดคือ
ขนาด 25 x 36 นิ้ว
ขนาด 31 x 43 นิ้ว
ขนาดกระดาษมาตราฐาน โรงพิมพ์ ***กระดาษกล่องแป้งหลังเทา , กล่องแป้งหลังขาว มีอยู่ 2 ขนาดคือ
ขนาด 31 x 43 นิ้ว
ขนาด 35 x 43 นิ้ว
ขนาดกระดาษมาตราฐาน โรงพิมพ์ *** กระดาษเคมี (ก็อปปี้ในตัว) ที่นิยมมีอยู่ 1 ขนาดคือ
ขนาด 24 x 36 นิ้ว
ขนาดกระดาษมาตราฐาน โรงพิมพ์ *** กระดาษแบงค์สี โดยทั่วไปมีอยู่ 1 ขนาดคือ
ขนาด 31 x 43 นิ้ว
ขนาดกระดาษมาตราฐาน โรงพิมพ์ *** กระดาษ KA และ KI โดยทั่วไปมีอยู่ 1 ขนาดคือ
ขนาด 35 x 43 นิ้ว
จากความแตกต่างของกรรมวิธีในการผลิตกระดาษความแตกต่างของเยื่อกระดาษ สารเคมีตลอดจนเครื่องจักรในการผลิต จะมีผลทำให้ลักษณะของกระดาษมีความแตกต่างกันตามวัสดุพื้นฐานในการผลิต โรงพิมพ์ จำเป็นต้องศึกษาถึงประเภทและ ชื่อเรียกของกระดาษเพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานสิ่งพิมพ์ ตลอดจนสามารถสื่อความหมายกับลูกค้าโดย ตรงตามวัตถุประสงค์ของการพิมพ์ และการใช้งานของลูกค้า กระดาษจะมีลักษณะ และชื่อเรียกต่างกันดังนี้
1. กระดาษบรู๊ฟ (newsprint)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้ป่น จึงทำให้มีราคาถูก คุณภาพต่ำ ถ้าเก็บไว้นานจะกรอบและแดงใช้พิมพ์หนังสือราคาถูก หนังสือข้อสอบ และหนังสือพิมพ์ เนื้อกระดาษจะไม่ค่อยละเอียดและเรียบเนียน
2. กระดาษปอนด์ (bond paper)
เป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูง เยื่อกระดาษทำจากเศษผ้าผสม ด้วยสารเคมี Sulfite ฟอกให้ขาวเป็นพิเศษ เป็นกระดาษใช้พิมพ์งานที่มีค่า เช่นประกาศนียบัตรหรืกระดาษเขียนจดหมาย และอื่นๆ
3. กระดาษฟอกขาวหรือกระดาษปอนด์ขาว (Wood Free Paper)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีฟอกขาว ผลิตเป็นกระดาษเพื่อใช้เขียนหรือพิมพ์ ใช้ทำสมุด และพิมพ์หนังสือโดยทั่วไป และทำเป็นกระดาษ A4 ใช้สำหรับเครื่องพริ้นทั่วไป ที่เรานิยมใช้กันในปัจจุบัน
4. กระดาษเหนียวหรือกระดาษสีน้ำตาลห่อของ (Kraft paper) KA , KI
ทำจากเยื่อ Sulphate ผสมสีน้ำตาล มีความเหนียวมากใช้ทำกระดาษห่อของหรือบรรจุภัณฑ์ถุงกระดาษ และ กล่องกระดาษ
5. กระดาษปก (Cover Paper)
เป็นกระดาษปอนด์ทำให้หนาเป็นพิเศษ มีความเหนียวทนทาน เพื่อใช้ทำปกหนังสือ
6. กระดาษวาดเขียน (Drawing Paper)
เป็นกระดาษปอนด์ขาว แต่ทำให้เนื้อกระดาษสามารถรับสีได้ง่าย และมีผิวเหมาแก่การเขียนภาพระบายสี ดูดหมึกดูดสีไว้โดยง่าย
7. กระดาษอาร์ต(Arts,Coate paper)
เป็นกระดาษที่ได้มีการเคลือบผิวหน้าด้วยวัสดุบางอย่างให้มีผิวเรียบมัน เพื่อใช้พิมภาพที่มีรายละเอียด เหมาะสำหรับการทำแผ่นพับ ใบปลิว แคตตาล็อก นามบัตร กล่อง ที่เน้นคุณภาพสีคมชัดความละเอียดสูง
8. กระดาษกล่อง (Box board) กล่องแป้งหลังเทา , กล่องแป้งหลังขาว
เป็นกระดาษที่ด้านหน้าทำจากเยื่อเคมี มีลักษณะเป็นกระดาษปอนด์ขาว แต่ด้านหลังทำจากเยื่อไม้ป่น หรืออาจเป็นเยื่อกระดาษเก่าซึ่งจะมีสีคล้ำ กระดาษชนิดนี้จะผลิจากเครื่องจักรชนิด Cylinder machine หลายๆชั้น
9. กระดาษโปสเตอร์ (Poster paper)
เป็นกระดาษปอนดืที่ขัดมันเรียบหน้าเดียว ส่วนอีกหน้าหนึ่งจะปล่อยให้หยาบไว้
10. กระดาษแข็ง (Hard board)
เป็นกระดาษที่ใช้ทำปกแข็งด้านในของหนังสือเมื่อใช้งานจะต้องมีกระดาษหรือวัสดุอื่นหุ้ม จึงเป็นกระดาษที่ไม่ต้องฟอกขาว ทำจากเยื่อไม้ป่นหรือเยื่อกระดาษเก่า เนื้อกระดาษจะดูสีคล้ำ และผิวไม่เรียบหรืออีกชื่อนึงที่ โรงพิมพ์ เรียกกันคือ กระดาษจั่วปัง
ยกตัวอย่างเช่น
1,000 มิลลิเมตร. ถ้าต้องการหาน่วยเป็นเซ็นติเมตร. เอา 1,000 มิล. หารด้วย 10 จะได้ = 100 เซ็นติเมตร
100 เซ็นติเมตร. ถ้าต้องการหาหน่วยเป็นนิ้ว. เอา 100 ซม. หารด้วย 2.54 จะได้ = 39.3 นิ้ว
10 นิ้ว.ถ้าต้องการหาหน่วยเป็นเซ็นติเมตร. เอา 10 นิ้ว x 2.54 จะได้ = 25.4 เซ็นติเมตร
10 ซม.ถ้าต้องการหาหน่วยเป็นมิลลิเมตร. เอา 10 ซม. x 10 จะได้ = 100 มิลลิเมตร
1.ส่งปรุฟดิจิตอลเพื่อเซ็นสรุปปรุฟ เรื่อง ข้อความ ขนาด และโทนสี (สามารถแก้ไขได้)
2.ส่งปรุฟเพลทแม่พิมพ์ เพื่อเซ็นสรุปปรุฟเรื่องสีก่อน ขึ้นเครื่องพิมพ์ (ไม่สามารถแก้ไขเรื่องข้อความได้แล้ว)
3.ผลิตงานตามสเป็คที่ตกลงกันไว้ และ ดำเนินการจัดส่งงานให้ลูกค้า