รายละเอียดลักษณะรูปแบบของงาน พิมพ์ซิลค์สกรีน (SilkScreen) เหมาะสำหรับงานไม่ไล่โทนสี(งานสีตาย) เช่น ลายแบบธงชาติ ตัวหนังสือธรรมดา หรือโลโก้ธนาคารต่างๆ ระบบพิมพ์ ซิลค์สกรีน สามารถทำงานสอดสี หรืองานแบบไล่โทนสีภาพเหมือนจริงได้เช่นกัน แต่ไม่นิยมเพราะจะเม็ดสีใหญ่กว่าระบบพิมพ์ออฟเซ็ท ระบบพิมพ์ออฟเซ็ทเม็ดสีความละเอียด 175dpi. แต่ระบบพิมพ์ซิลค์สกรีน จะความละเอียดของเม็ดสี ประมาณ 60-90 dpi. ระบบซิลค์สกรีน จึงไม่นิยมมาทำงานลักษณะภาพเหมือนจริงเช่น ภาพต้นไม้ ภาพรถยนต์ ภาพนางแบบ ภาพไล่โทนสีสอดสี แต่ระบบพิมพ์ ซิลค์สกรีน จะเหมาะสมกับงานลักษณะงาน เหมือนภาพงาน ตัวอย่างด้านบน ที่จะเป็นงานสีตายไม่ไล่โทนสี จะแยกสีเป็นสีพิเศษสีใครสีมัน หรือเรียกง่ายๆว่าสีตาย คือ แดงก็แดง ดำก็ดำสีชมพูก็ชมพูไปเลย ไม่มีไล่แดงอ่อนไปแดงเข้ม หรือจะ ไม่มีการไล่น้ำเงินมาจนเป็นสีฟ้าอ่อน ซึ่งระบบพิมพ์ออฟเซ็ทจะสามารถทำได้ ข้อดีของระบบงานพิมพ์ซิลค์สกรีน คือ การลงผ่านผ้าโพลีเอสเตอร์ สีจะลงหนักกว่าทุกระบบพิมพ์อื่นๆประมาณเกือบ 10 เท่า ซึ่งจะทำให้ความคงทน สวยสด งดงาม อยู่ทนแดน และ ทนฝน ได้นานกว่าระบบพิมพ์อื่นๆ ซึ่งงาน พิมพ์ระบบซิลค์สกรีน จะมีอายุการใช้งาน ประมาน 1 ปี-2 ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งจะอยู่ได้นานกว่างาน พิมพ์ ระบบอื่นประมาน 1 ปี และงาน พิมพ์ซิลค์สกรีน เหมาะสมกับงาน พิมพ์สติกเกอร์ ฉลากสินค้า พลาสติก และอื่นๆ สามารถพิมพ์งานจำนวนน้อย 500-1,000 ใบพิมพ์ได้ หรืองานจำนวนมาก 2,000 ใบพิมพ์ขึ้นไปได้ ความสามารถพิเศษของงาน ระบบพิมพ์ ซิลค์สกรีน ที่ไม่เหมือนใคร คือ สามารถพิมพ์ระบบพิมพ์ซิลค์สกรีน ลงบนวัสดุที่ไม่ใช่แผ่นเรียบๆได้เช่น พิมพ์สกรีนกล่องเหล็ก พิมพ์สกรีนแฟลชไดร์ พิมพ์วัสดุที่มีความนูน ที่ไม่สามารถเข้าเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท เครื่องพิมพ์อิ้งค์เจ็ท และเครื่องพิมพ์ชนิดอื่นๆ แต่ไม่สามารถพิมพ์สกรีนบนจุดที่ โค้งมาก หรือ บุ๋ม หรือนูนไม่สม่ำเสมอได้
การพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน เริ่มต้นที่ประเทศจีน เมื่อประมาณ 2000ปีที่แล้ว โดยหลักการที่เป็นตรรกของสามัญสำนึก (COMMONSENSE) ขั้นพื้นฐานในการคิดค้นวิธีการพิมพ์ที่กำหนดให้ หมึกพิมพ์โดนปาดผ่านผ้า(สมัยก่อนเป็นผ้าไหม) ซึ่งขึงตึงบนกรอบไม้ (สดึง) โดยได้มีการกำหนดลวดลายที่ต้องการจะพิมพ์ด้วย รูผ้าที่เปิดเพื่อให้หมึกพิมพ์ไหลผ่านลงสู่ วัสดุที่จะพิมพ์เป็นลวดลายที่ต้องการ และ รูผ้าปิดเพื่อป้องกันหมึกพิมพ์ไหลผ่านจากวันนั้นถึงวันนี้ หลักการดังกล่าวข้างต้นตั้งแต่อดีด ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลย แต่การพิมพ์ซิลค์สกรีน ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยชาติตะวันตก เช่น ยุโรปอเมริกา ได้นำหลักการพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน ไปพัฒนาให้เป็นกระบวนการ พิมพ์เชิงอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 200 ปี และในระยะ 30-40 ปี ที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มพัฒนาการพิมพ์ ระบบ ซิลค์สกรีน เพิ่มมากขึ้นสำหรับประเทศจีนในปัจจุบันได้มีการพัฒนา การพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน อย่างเร่งด่วนเช่นเดียวกับประเทศไทยและเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค การพัฒนา 3 ข้อ ของอุตสาหกรรมการพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน คือ
1.วัสดุอุปกรณ์ในการพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน
2.กระบวนการและขั้นตอนการทำงานระบบพิมพ์ ซิลค์สกรีน
3.ประยุกต์กระบวนการพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน เพื่อการผลิตสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์ที่พิมพ์ด้วยระบบซิลค์สกรีน วัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน และกระบวนการพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น แม่พิมพ์(บล็อคพิมพ์) ระบบ ซิลค์สกรีน ที่พัฒนาจากกรอบไม้ ไปสู่กรอบโลหะอลูมิเนียม ด้วยรูปทรงที่มีทั้งตรง โค้ง วงรี และรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับวัสดุสิ่งพิมพ์ (SUBSTRATE) ผ้าสกรีนที่เดิมเป็นผ้าไหมได้เปลี่ยนเป็นผ้าไนล่อน, โพลีเอสเตอร์ บางกรณีเป็นแผ่น ที่ถักด้วยเส้นทองแดงหรือ เส้นสแตนเลสสตีล ให้มีรูเปิด-ปิดเหมือนผ้าสกรีนเพื่อให้การพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์แบบพิเศษ ดังนั้นคำว่าการพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน จึงเปลี่ยนมาเป็น การพิมพ์สกรีน เพราะเราไม่ได้ใช้ผ้าไหมเป็นผ้าสกรีนอีกต่อไป ผ้า ไนล่อน และ โพลีเอสเตอร์ มีหลายประเภทจากหนาถึงบางด้วยรูผ้าหยาบและถึงละเอียดมากซึ่งจะมี สีขาว สีเหลืองและสีแดงเพื่อการรับแสงในการ สร้างแม่พิมพ์ ซิลค์สกรีน ที่แตกต่างกัน การสร้างแม่พิมพ์ ซิลค์สกรีน นั้นเพื่อกำหนดรูเปิดกับรูปิดของผ้าสกรีน มีวิธีการคล้ายกับ ลายฉลุ ที่มีการเจาะกระดาษแข็ง ให้เป็นตัวเลข และ ตัวอักษร หรือ ลวดลาย แล้วทำการพ่นด้วยสีสเปร์ย ให้ผ่านไปติดลงบนวัสดุพิมพ์ แต่การสร้างแม่พิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน ซึ่งมีวิธีการเพิ่มมากขึ้น เพื่อการสร้างสรรค์งานหลายประเภท โดยในปัจจุบันนิยมใช้ ฟิล์มส้ม ฟิล์มเขียว สำหรับงานพิมพ์ ซิลค์สกรีน ที่ไม่ละเอียดมากนักและฟิล์มม่วง ฯลฯ สำหรับงานพิมพ์ที่ละเอียดมากขึ้นหรือการสร้างแม่ พิมพ์ซิลค์สกรีน ด้วยกาวอัด (EMULSION) ที่มีการออกแบบโครงสร้าง โพลีเมอร์ เพื่อการพิมพ์ตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียดมาก น้ำยาเคมีภัณฑ์เพื่อการสร้างแม่ พิมพ์ ซิลค์สกรีน ได้มีการพัฒนาเพื่อลดมลพิษ และต่อสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับหมึกพิมพ์ซิลค์สกรีน ที่มีแนวโน้มของการเป็นหมึกพิมพ์ WATERBASE ที่ไม่เป็นพิษ หรือหมึกพิมพ์ UV เพื่อการลดมลพิษในอากาศเช่นเดียวกัน ซึ่งนับว่าเป็น ปัจจัยด้านความปลอดภัยที่สำคัญของการ พิมพ์ระบบซิลค์สกรีน หมึกพิมพ์ระบบซิลค์สกรีน ซึ่งมีการออกแบบให้มีความพิเศษพิสดาร ทั้งที่เป็นแบบ FUNCTION และ DECORATION เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มต่างๆโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการพิมพ์ซิลค์สกรีน ของญี่ปุ่น ซึ่งมีการพัฒนาหมึก พิมพ์ซิลค์สกรีน ที่เติบโตก้าวหน้ามากที่สุดในปัจจุบัน
ยางปาดสกรีน นั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปาดหมึกพิมพ์มาก ซึ่งจะต้องเสียดสีกับผ้าสกรีนตลอดเวลา จึงทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย โดยสมัยก่อนยางปาดสกรีนจะทำมาจากยางธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันจะใช้วัสดุ POLYURETHANE เพื่อนำมาทำยางปาดที่มีรูปตัด แตกต่างตามประเภทการใช้งานเพื่อที่จะเพิ่มหรือลด INK DEPOSIT ซึ่งต้องสัมพันธ์กับขนาดรูเปิดของผ้าสกรีน การขึงผ้าสกรีนบนกรอบเพื่อให้ตึงสม่ำเสมอในอดีตนั้นเป็นการขึงโดยใช้มือดึงผ้าสกรีนซึ่งมักจะประสบปัญหาเรื่องแรงตึงผ้าสกรีน ที่ไม่สม่ำเสมอเมื่อกรอบมีขนาดใหญ่ แต่ปัญหาดังกล่าวได้มีการแก้ไขโดยการใช้เครื่องมือที่เป็นระบบแมคคานิคไปจนถึงระบบ นิวเมติคที่ควบคุมความตึงของผ้าสกรีนได้อย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นกรอบสกรีนเล็ก กลางหรือใหญ่ การสร้าง แม่พิมพ์ซิลค์สกรีน เริ่มจากการใช้แสงแดดกลางแจ้งต่อมาก็เปลี่ยนเป็นการสร้างแม่พิมพ์ซิลค์สกรีนในห้องมืดด้วยตู้ไฟนีออนจนได้พัฒนามาเป็น ไฟอาร์คไฟเมทาลฮาไลด์ ไฟซีนอนและไฟเมอคิวรีที่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งประกอบเป็นอุปกรณ์ ที่มีการควบคุมด้วยระบบ อิเล็กทรอนิคอย่างแม่นยำสามารถคำนวณระยะเวลาของการส่องแสง (EXPOSURE TIME) พร้อมแจ้งค่าความสว่างของหลอดไฟ หรือต้นกำเนิดแสงเพื่อที่จะปรับระยะห่างจากต้นกำเนิดแสงและแม่พิมพ์ซิลค์สกรีน เครื่องสร้าง แม่พิมพ์ซิลค์สกรีน รุ่นใหม่ที่จะเป็นระบบ AUTOMATIC โดยมีการนำแม่พิมพ์เข้าไปในตู้ที่เป็นแถวยาวซึ่งจะมีระบบ การล้างแม่พิมพ์ การปาดกาว การฉายแสง และการล้างแม่พิมพ์ที่สามารถสร้างแม่พิมพ์ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว อุปสรรคของการทำ แม่พิมพ์ซิลค์สกรีน ขนาดใหญ่ซึ่งต้องมี POSITIVE FILM ขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการคิดค้นการใช้ฟิล์ม ขนาดเล็กฉายผ่านไฟแรงสูงด้วยแว่นขยายตรงสู่บล็อค แม่พิมพ์สกรีน ทำให้ประหยัดค่าฟิล์มได้มากและสะดวกในการสร้าง แม่พิมพ์ซิลค์สกรีน ปัจจุบันนี้เครื่องสร้าง แม่พิมพ์ซิลค์สกรีน COMPUTER TO SCREEN(CPS) ที่ใช้ระบบ อิ้งค์เจ็ท ที่ฉีดพ่นกาวอัดลงบน แม่พิมพ์สกรีน เพื่อเป็นการสร้าง แม่พิมพ์สกรีน กำลังเป็นที่กล่าวถึงของชาว ซิลค์สกรีน และนำไปสู่ระบบFILMLESSด้วย คอมพิวเตอร์ การพัฒนาเครื่องพิมพ์สกรีนทั้งแบบ SEMI-AUTO และ AUTOMATIC ซึ่งแต่ก่อนมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องฉากพิมพ์ (REGISTRATION)ที่คลาดเคลื่อนเมื่อมีการพิมพ์หลายสี เพราะวัสดุสิ่งพิมพ์มีการขยับตัวหรืออาจจะยืดหดตัวได้ เพราะความชื้นที่มีอยู่ในอากาศจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ในปัจจุบันเครื่อง ELECTRONIC EYEซึ่งจะสามารถจัดฉากได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำทุกครั้งก่อนพิมพ์ โดยการปรับแม่พิมพ์ซิลค์สกรีน และแท่นพิมพ์ให้สัมพันธ์กันเครื่อง พิมพ์ซิลค์สกรีน ได้มีการพัฒนาให้มีความรวดเร็ว ในการพิมพ์ซิลค์สกรีน เพิ่มมากขึ้นทั้งระบบ FLATBED, CYLINDER, ROTARY และด้วยการติดตั้งเครื่องอบแห้งยูวีเพื่อทำให้การ พิมพ์ซิลค์สรีน สีต่อเนื่องหลายสี หรือการพิมพ์สีชุด (PROCESS COLOUR) สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วขึ้น การตั้งเครื่อง พิมพ์ซิลค์สกรีน และเครื่องอบแห้งที่เรียงกันโดยตั้งอยู่บนรางหรืออุปกรณ์ยึดติดกับพื้นให้ต่อกันเป็นแถวยาวทำให้ การทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และสามารถควบคุมได้โดยง่ายสำหรับเครื่อง พิมพ์ซิลค์สกรีน ขนาดใหญ่ที่จะมีความยาว 20-30 เมตร ซึ่งอาจมีช่างควบคุม เครื่องซิลค์สกรีน 2-3 คนเท่านั้นและด้วยการออกแบบเครื่อง พิมพ์ซิลค์สกรีน ลักษณะ PLUG IN / PLUG OUT ทำให้ช่างสามารถที่จะ เพิ่มหรือลด หรือเปลี่ยนแปลงเครื่อง พิมพ์ซิลค์สกรีน ได้อย่างสะดวกขึ้นปัจจุบันเครื่อง พิมพ์ซิลค์สกรีน และเครื่องอบแห้ง AUTOMATIC ประเภท FLATBED สามารถที่จะพิมพ์ พิเศษ (1 สี) ด้วยความเร็ว 850 แผ่น / ชั่วโมง เครื่องพิมพ์ซิลค์สกรีนเสื้อยืด AUTOMATIC ที่ออกแบบให้มีแท่นพิมพ์ซิลค์สกรีน 18 แท่นเรียงเป็นวงกลม พร้อมเครื่องอบแห้งอินฟราเรด โดยสามารถพิมพ์เสื้อยืด 4 สีได้ประมาณ 800-1000 ตัว/ชั่วโมงด้วยความ ปราณีตสวยงามคมชัด กระบวนการหลังพิมพ์เสร็จ คือ การตากแห้งแบบ AIR DRY ไปจนถึงการอบแห้งด้วย ไฟฟ้าอินฟราเรด และ แสงยูวี ที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและคาดว่าการอบแห้งด้วยระบบไมโครเวฟ จะเป็นการพัฒนาในอนาคต ต่อไป ซึ่งวิธีการอบแห้ง ต่างๆสามารถทำให้เพิ่มการติดยึดติด ของหมึกพิมพ์ซิลค์สกรีน บนวัสดุพิมพ์เพิ่มมากขึ้น วัสดุพิมพ์ (SUBSTRATE) สำหรับการ พิมพ์ ระบบซิลค์สกรีน มีหลากหลายประเภท ข้อสังเกตคือวัสดุพิมพ์ ประเภทของกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ซิลค์สกรีนสกรีน นั้นอาจจะ มีอัตราส่วนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการพิมพ์ระบบออฟเซ็ท เพื่อผลิตหนังสือ สมุด สติกเกอร์ และฉลากสินค้า ใบปลิว แผ่นพับ การ์ดแต่งงาน นามบัตร และกล่องบรรจุภัณฑ์ พลาสติก และอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามการพิมพ์ซิลค์สกรีน ใช้กระดาษในการพิมพ์ป้าย โฆษณา เพิ่มจุดขาย นามบัตร, บรรจุภัณฑ์บางประเภท, กระดาษทรานสเฟอร์เซรามิค, ฉลากสินค้า, สติกเกอร์ทุกชนิด ฯลฯ วัสดุพิมพ์อื่นๆ ที่ระบบการพิมพ์ซิลค์สกรีนใช้ คือ ผ้า, แผ่นพลาสติก, แผ่นลูกฟูกพลาสติก,แก้ว, โลหะ, บรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ และ อื่นๆ ปัจจุบันการคิดค้นวัสดุพิมพ์ ใหม่ๆ โดยเฉพาะ พลาสติกที่เรียกกันว่า NEO FUNCTIONAL FILM ที่มีหลากหลายประเภท และหลายคุณสมบัติ และบางประเภทสามารถประยุกต์ใช้กับ DISPLAY PANEL ด้วยการ พิมพ์ระบบซิลค์สกรีน วัสดุและอุปกรณ์ กระบวนการพิมพ์ซิลค์สกรีนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะในระยะ 30-40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิด ลักษณะ และจุดเด่น ของการพิมพ์ระบบซิลค์สกรีน คือ STTS อันได้แก่ S=SIZE ที่สามารถพิมพ์ได้หลากหลายขนาดตั้งแต่เล็กมาก จนถึงใหญ่ประมาณ 2 x 5 เมตร T=TEXTURE ที่สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ที่มีผิวเรียบเนียน , ขรุขระ , หยาบ , มัน , ด้าน และ อื่นๆ T=THICKNESS ที่สามารถกำหนด INK DEPOSIT ให้มีความหนา หรือ บาง ได้โดยการกำหนดปริมาณของหมึกพิมพ์ และขนาดรูผ้าโพลีเอสเตอร์ของแม่พิมพ์ซิลค์สกรีน S=SHAPE ที่สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ซึ่งเป็นแผ่นเรียบ/โค้ง/รี/ทรงกลม/แก้ว/ ภาชนะ และอื่นๆ ดังคำกล่าว ?เช้า สาย บ่าย ค่ำ เราท่านแวดล้อมด้วยสิ่งพิมพ์ซิลค์สกรีน? ด้วยเหตุที่การพิมพ์ซิลค์สกรีน สามารถพิมพ์ ได้บนวัสดุพิมพ์ หลากหลายมากมายจน บางท่านบอกว่า ยกเว้นอากาศและน้ำ การพิมพ์ซิลค์สกรีนสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้า การพิมพ์ซิลค์สกรีน ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าทำให้ดูดีมีราคามากขึ้น โดยประมาณการว่า พื้นที่พิมพ์ ที่คิดเป็นอัตราส่วนต่อ ขนาดของวัสดุพิมพ์ ที่มีความแตกต่างกันในสินค้า มีดังต่อไปนี้ 1.ผ้า 70% 2.เซรามิค?แก้ว?หม้อเคลือบ 20% 3.สิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณา50% 4.ป้ายชื่อ 50% 5.ป้ายสัญญาณ 50% 6.ฉลากสินค้า 50% 7.บรรจุภัณฑ์ 20% 8.ของเล่น 30% 9.ของขวัญ 30% 10.บัตรพลาสติก 70% 11.แผ่น ซี. ดี. 70% 12.อุปกรณ์กีฬา 10% 13.อุปกรณ์ยานยนต์ 3% 14.อุปกรณ์ไฟฟ้า 5% 15.แผงวงจรไฟฟ้า 70% 16.เมมเบรนสวิช 70% คำถามที่ว่าการพิมพ์ระบบ อิ้งค์เจ็ท จะมาแทนที่การพิมพ์ซิลค์สกรีนหรือไม่? คำถามเช่นเดียวกันว่าการพิมพ์ PAD จะมา แทนที่การพิมพ์ ซิลค์สกรีนหรือไม่? ระบบการพิมพ์ของทั้งสอง จะเป็นอุปสรรค ต่อ ชาวซิลค์สกรีนหรือไม่? คำตอบ คือเมื่อเรา พิจารณาสินค้าทั้ง 18 ประเภท ดังกล่าวนั้น ในข้างต้น ซึ่งในปัจจุบันกระบวนการพิมพ์ของทั้งสองมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้า บางประเภท เช่น การโฆษณาป้ายใหญ่ๆสำหรับงาน อิ้งค์เจ็ท และบรรจุภัณฑ์, ของขวัญ สำหรับ PADแม้ว่าจะมีการพัฒนา กระบวนการพิมพ์ทั้งสองเพิ่มมากขึ้น เพื่อการพิมพ์สินค้าประเภทอื่นๆ ซึ่งดูเหมือนเป็นการแข่งขันกับการพิมพ์ซิลค์สกรีน แต่อันที่ จริงชาวซิลค์สกรีนประเทศไทย พิจารณาว่าเป็น โอกาสมากกว่าอุปสรรค์ ด้วยเหตุนี้ ชาวสกรีนไทยหลายท่านได้ผนวก กระบวนการพิมพ์ระบบ SCREEN ? PAD ? INKJET เข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ในการสร้างสรรค์สินค้าได้ หลากหลายประเภทมากขึ้น ในลักษณะบริการที่สมบูรณ์ การพัฒนาอุตสาหกรรมโรงงาน โรงพิมพ์ซิลค์สกรีน ไทยอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ศักยภาพในการผลิต สิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์ที่พิมพ์ ซิลค์สกรีน ( หรือที่เรียกว่าสินค้า 18 ประเภท ) ของชาว โรงพิมพ์ซิลค์สกรีนไทย เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะฝีมือของ ชาว โรงพิมพ์ซิลค์สกรีน ไทยที่มีความประณีตบรรจง และประยุกต์เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ ในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิค แต่เราก็ยังต้องมุ่งพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ในเรื่องของ วิธีการผลิตใหม่ๆ และเทคโนโลยี เครื่องจักร เพื่อเทียบเคียงกับ ประเทศญี่ปุ่น การที่ภาครัฐส่งเสริมการลงทุน (BOI) จากบริษัทของต่างชาติ ของอุตสาหกรรมประเภทต่างๆในประเทศไทย ก่อให้เกิดงานพิมพ์ระบบ ซิลค์สกรีน เพิ่มมากขึ้นในลักษณะ SUPPORTING INDUSTRY-การจ้างพิมพ์ค่าแรง ซึ่งเป็น การสร้างโอกาสแก่ โรงพิมพ์ซิลค์สกรีนไทย ในการพิมพ์ระบบซิลค์สกรีนเพื่อภาคอุตสาหกรรม โรงงาน ด้วยแนวคิดในการสร้าง สินค้ามูลค่าเพิ่ม โดยพัฒนาจากสินค้าประเภทประโยชน์ที่ ใช้สอยทั่วไป (GENERAL PURPOSE PRODUCT) เป็น สินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (HIGH VALUE-ADDED PRODUCT) ด้วย วิธีการผลิตใหม่ๆ และเทคโนโลยี ขั้นสูง ซึ่งการ พิมพ์ซิลค์สกรีน สามารถมีส่วนส่งเสริมแนวความคิดดังกล่าวได้ดี ดังนั้นประเด็นที่สำคัญ ของการพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมการ โรงพิมพ์ซิลค์สกรีน ในไทยจากการรับจ้างพิมพ์ไป สู่การสร้างงานพิมพ์ หรือ การรับจ้าง+สร้างงานพิมพ์ซิลซิลค์สกรีน ด้วยการออกแบบ วิจัย และ ค้นคว้าร่วมกันระหว่างฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต (โรงพิมพ์) และฝ่ายการตลาด-การขาย-การบริการ ของทั้งสินค้า 18 ประเภท เพื่อการส่งเสริมมาตรฐานการพิมพ์ซิลค์สกรีนเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น ทั้งในเรื่องรสนิยม การสร้างสรรค์ เทคโนโลยีการพิมพ์ และการบริหารจัดการ โรงพิมพ์ อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ส่งเสริมให้เป็นสินค้าที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกซึ่ง เป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของการส่งออก ของประเทศไทย ด้วยเหตุผลนี้อการพิจารณากำหนดมาตรฐานสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์ ซิลค์สกรีนไทย โรงพิมพ์ซิลค์สกรีน (หรือที่เรียกว่าสินค้าทั้ง 18ประเภท) นับเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ เช่น เดียวกับการพิจารณากำหนดมาตรฐานผู้ประกอบการโรงงานพิมพ์ซิลค์สกรีนในไทย และการพิจารณา การกำหนดมาตรฐาน สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ซึ่งนับเป็นพันธกิจสำคัญของสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ร่วมกับสมาชิกสมาคมฯและบุคลากรในอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนไทย ทางโรงพิมพ์ เอสซีที อินเตอร์พริ้น ต้องขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.thaiscreenprinting.or.th/detail_new4.php?ID=48
การพิมพ์ Silk Screen Printing
หลักการพิมพ์งานระบบ "ซิลค์สกรีน" มีหลักการง่าย ๆ คือ การปาดหมึกพิมพ์ ผ่านผ้าบล็อคสกรีน ที่ยึดบนกรอบสื่เหลี่ยม ให้ลงไปติด กับวัสดุที่จะพิมพ์ หากต้องการให้หมึกผ่านผ้าสกรีนออกมาตามลวดลายใด ๆ ก็ทำให้รูของผ้าเปิดหรือปิด ในส่วนที่ต้องการให้หมึกผ่าน ออกตามลวดลายของงานพิมพ์นั้นๆ การพิมพ์ระบบซิลค์สกรีนนี้ สามารถใช้พิมพ์ลงบนวัตถุ ได้แทบจะทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นวัสดุแบน กลม เหลี่ยม หรือรูปทรงแปลก ๆ ทั้งหลาย การพิมพ์ระบบนี้ใช้การ ปาดหมึกพิมพ์ซิลค์สกรีนผ่านผ้าสกรีนลงไปติด บนวัสดุ ปริมาณ ของหมึกพิมพ์จึงผ่านลงไปเกาะยึดติดกับบนวัสดุที่พิมพ์ ได้มากและทึบกว่าทุกการพิมพ์ระบบอื่น ๆ จึงทำให้ภาพพิมพ์แลดูสดสวย และความคงทน ทนแดด ทนฝน ผ้าซิลค์สกรีน คือ ผ้าที่ทอขึ้นเป็นพิเศษ ให้มีขนาดของรูผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เล็ก ๆ ขนาดเท่าๆกัน ทุกรู รายละเอียดเกี่ยวกับผ้าบล็อคงานสกรีน มีดังนี้คือ
1.ชนิดเส้นใยของผ้า มี 3 แบบ คือ เส้นใยไนลอน เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยโลหะ
2.ลักษณะการทอของเส้นใย มีอยู่ 2 แบบคือ แบบเส้นเดี่ยว(Mono Filament)และ แบบเส้นควบ หรือหลายเส้น (Multi Filament)
3.ขนาดเส้นใยของบล็อคซิลค์สกรีน หมายถึง ความหนา ของผ้า มีขนาดดังนี้คือ
S = Small เป็นผ้าชนิดบาง
M = Medium เป็นผ้าชนิดปานกลาง
Thick เป็นผ้าชนิดหนา HD = Heavy Duty ผ้าหน้าชนิดที่ต้อง การให้มีความทนทานสูง
4.ขนาดของรูผ้าบล็อคซิลค์สกรีน หรือความห่าง ระหว่าง เส้นใย บอกขนาดเป็นนัมเบอร์ เช่น ผ้าซิลค์เบอร์ 77, 80,90, 100, 120, 150, 200 ตัวเลขนัมเบอร์เหล่านี้มาจาก จำนวนใยเส้นด้าย/ซ.ม. หรือ นิ้ว ซึ่งส่วน ใหญ่ที่ใช้กัน จะเป็นระบบเมตริค (ซ.ม.) เบอร์ของผ้าซิลค์สกรีนยิ่งสูงขึ้น ขนาดของรูผ้าก็จะเล็กลง ซึ่งผ้า ซิลค์สกรีน มีอยู่หลายสิบเบอร์ให้เลือกตามความเหมาะสมของแบบที่จะพิมพ์และวัสดุที่ใช้พิมพ์ซึ่งมี การดูดซึมของหมึกที่แตกต่างกัน การเลือกใช้เบอร์ ผ้าบล็อคสกรีนให้ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่จะพิมพ์ คือ 4.1 การพิมพ์ผ้า ใช้ประมาณ เบอร์ 18 - 70 เป็นผ้า Screen ที่มีขนาดรูของผ้าใหญ่ เพื่อให้หมึกลงได้มาก ส่วนใหญ่ในแบบหรือภาพที่มีเส้นใหญ่มีการดูดซึมของหมึกมาก
4.2 พิมพ์งานซิลค์กระดาษ, แผ่นไม้, โปสเตอร์ ใช้ผ้าประมาณ เบอร์ 90 - 120 รูของผ้าปานกลาง ใช้ในการพิมพ์ งานระดับธรรมดาจนถึงลายเส้นเล็ก
4.3 พิมพ์สติกเกอร์ ป้ายฉลาก, ภาชนะพลาสติก ใช้ผ้าเบอร์ 130 - 200 เป็นผ้าที่มีขนาดรูผ้าละเอียดมาก ใช้ในการ พิมพ์งานลายเส้นเล็กและคมมาก ๆ ผ้าสกรีนที่บอกรายละเอียดว่า T90 NYMO หมายถึง ผ้าเบอร์ 90 แบบหนา (T = Thick) เป็นผ้าชนิดไนลอน(NY = Nylon) ทอแบบเส้นเดี่ยว (MO = Mono) ผ้าสกรีน เบอร์ 150 S POMO จึงหมายถึง ผ้าเบอร์ 150 โพลีเอสเตอร์แบบบางและทอแบบ เส้นเดี่ยว
การทำบล็อคแม่พิมพ์ สามารถทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมกับงาน ต้นฉบับปริมาณ คุณภาพ และ งบประมาณ
1.วิธีตัดกระดาษสำหรับงานพิมพ์ ใช้กระดาษหรือวัสดุอื่นที่มีลักษณะเป็น แผ่นแบน และบางเช่นเดียวกับกระดาษ ตัด หรือเจาะรู กระดาษให้เป็นช่อง หรือลวดลาย ตามที่ต้องการ แล้วนำไปติดลงบนผ้าสกรีนด้านที่จะกดลงทับกระดาษพิมพ์ วิธีการติด อาจใช้ การปาดสี พิมพ์ติด การติดกาว หรือใช้เทปกาวก็ได้ เท่านี้ก็จะได้แม่พิมพ์ที่พร้อมที่จะใช้พิมพ์ วิธีนี้เหมาะกับงานพิมพ์ซิลค์สกรีน ที่ไม่ต้องการความละเอียดสูง และต้นฉบับเป็นลายเส้นขนาดใหญ่ เช่น ตัวเลข พิมพ์เบอร์เสื้อกีฬา
2.วิธีการใช้สี, แลคเกอร์,กาว ใช้สี, แลคเกอร์ หรือกาวทาบนผ้าบล็อคพิมพ์สกรีนมีเทคนิคการทำง่าย ๆ คือ ใช้กาวแลคเกอร์ หรือสี ทาระบายลงบนผ้าบล็อกซิลค์สกรีนที่ขึงไว้บนกรอบแล้ว โดยทาตามแบบหรือลวดลายที่ได้เตรียมไว้ให้บางส่วนทึบบางส่วนทะลุเป็น ช่องตามลวดลายที่อัดบล็อคไว้ เพื่อให้สีเวลาปาดผ่านได้ในขั้นตอนการพิมพ์ วิธีนี้อาจไม่ทากาว หรือสีโดยตรงแต่ใช้วิธีตัดกระดาษให้ เป็นลวดลายตามต้องการแล้ววางกระดาษติดบนกรอบสกรีนด้านใน แล้วใช้สีหรือกาวปาดทับลง แล้วจึงเอากระดาษออกจากบล็อก แม่พิมพ์จะ มีลอยทะลุตรงส่วนที่มีกระดาษวางอยู่ก่อนวิธีนี้ไม่ดีนัก ได้ลวดลายหยาบ ๆเท่านั้น
3. วิธีการใช้ฟิล์มเขียว ฟิล์มเขียว จะมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ของโพลีไวนิล (Polyvinyl Acitate) เคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกใสสามารถ ลอกให้หลุดออกจากกัน วิธีทำคือ การตัดแผ่นฟิล์ม ให้มีขนาดโตกว่าต้นแบบพอสมควรแล้วก็วางฟิล์มทับลงกับต้นแบบ โดยการหงาย ด้านที่เป็นฟิล์มขึ้น จากนั้นใช้คัตเตอร์ปลายแหลม หรือเข็ม ชนิดที่ทำขึ้นมาสำหรับการใช้กับงานแบบนี้โดยเฉพาะ กรีดลงบนแผ่นฟิล์ม ตามที่ลวดลายของต้นฉบับโดยจะต้องกรีดเพียงเบา ๆ เพื่อให้ฟิล์มที่เคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขาดเท่านั้น หลังจากกรีดจนเสร็จทุกส่วน แล้วก็นำแผ่นฟิล์มไปติดกับกรอบผ้า ซิลค์สกรีนวิธีติดคือ การวางแผ่นฟิล์มลงบนกระจกเรียบ หงายด้านฟิล์มขึ้น แล้วก็วางกรอบผ้า ซิลค์สกรีน กดทับลงไปให้แน่นจากนั้นก็ใช้สำลีชุบทินเนอร์ให้ชุ่ม แล้วลูบลงบนแผ่นฟิล์มผ่านผ้าสกรีนให้ทั่ว ทินเนอร์จะต้องใช้พอให้ ชื้นอย่าให้เปียกโชกเพราะอาจจะทำให้ฟิล์มละลายได้ แต่ถ้าทินเนอร์น้อยไปฟิล์มก็จะไม่ติดผ้า การสังเกตว่าฟิล์มติดหรือไม่ให้นั้นดูได้ จากสีฟิล์มจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น ซึ้งแสดงว่า ฟิล์มได้รับทินเนอร์อย่างเพียงพอแล้ว ก็ปล่อยไว้ประมาณ 2 - 4 นาที เพื่อให้ฟิล์มแห้งสนิท แล้วสังเกตได้จากสีที่จางลงเท่ากับสีก่อนที่จะเปียกทินเนอร์ จากนั้น ก็ค่อย ๆ ลอกแผ่นพลาสติกที่รองด้านหลังออก หากมี ส่วนใดของ แผ่นฟิล์มหลุดออก ก็ให้กดลงแล้วชุบทินเนอร์ซ้ำอีกรอบหนึ่งด้วย แม่แบบที่ทำด้วยแผ่นฟิล์มเขียวมีคุณภาพดีพอสมควร แต่ลวดลายที่จะ ทำแม่พิมพ์วิธีนี้จะได้เพียง หยาบ ๆ เท่านั้น เพราะว่าจะต้องใช้ฝีมือ หรือความสามารถในการกรีดฟิล์มด้วยมือ เช่น ตัวอักษร หรือตัวเลข ที่ขนาดใหญ่ สีที่ใช้พิมพ์นั้น จะใช้ได้เฉพาะสีเชื้อน้ำเท่านั้น ถ้าใช้สีเชื้อน้ำมันจะทำให้แผ่นฟิล์มละลายได้ การล้างแม่แบบล้างโดยใช้ ทินเนอร์เช็ด มี 4 วิธีดังนี้ ใช้ฟิล์มน้ำ ฟิล์มน้ำ หรือฟิล์ม Autocut มีลักษณะคล้าย กับฟิล์มเขียว แต่จะโปร่งใส เนื้อฟิล์มและแผ่นรองรับ ไม่หดหรือขยายตัวได้ง่าย ๆ ถูกน้ำจะละลาย ดังนั้นจึงติดกับกรอบผ้ากรีน ด้วยการใช้น้ำเป็นตัวทำให้ยึดติด วิธีทำแม่พิมพ์ มีวิธีการเช่น เดียวกับวิธีใช้แผ่นฟิล์มเขียว เพียงแต่เปลี่ยน จากทินเนอร์เป็นน้ำเท่านั้นเอง วิธีพิมพ์แผ่นฟิล์มน้ำ ใช้พิมพ์ได้กับหมึกพิมพ์เชื้อน้ำมัน และ หมึกพิมพ์เชื้อพลาสติก เท่านั้น สีพิมพ์ผ้าจะใช้ไม่ได้ ในกรณีที่จะต้องการพิมพ์ด้วยหมึกเชื้อน้ำให้ใช้วิธี ฟิล์มเขียว การล้างเมื่อจะต้องการ เปลี่ยนแบบใหม่ก็ให้ล้างฟิล์มน้ำออกจากผ้า ซิลค์สกรีน โดยใช้น้ำหรือ น้ำอุ่น ที่เหมาะสำหรับงานที่มีลายเส้นใหญ่ หรืองานที่มีการ คัดลอกด้วยมือได้ เหมาะสำหรับกรอบ ซิลค์สกรีน ที่มี ขนาดใหญ่ ซึ่งการทำแม่พิมพ์แบบวิธีอื่นไม่สามารถที่จะทำงานได้สะดวกใน กรณีที่มีลายเส้นเล็ก ต้องใช้วิธีกาวอัด หรือฟิล์มถ่าย 5 การทำแม่พิมพ์ด้วยวิธีฟิล์มม่วง เป็นฟิล์มที่มีความไวต่อแสง ใช้ทำแม่พิมพ์ ซิลค์สกรีน ร่วมกับกาวอัดบล็อค ให้รายละเอียดและการพิมพ์ซิลค์สกรีนได้คมชัดกว่าการใช้กาวอัดเพียงอย่างเดียว เหมาะสำหรับ การพิมพ์ หมึกพิมพ์เชื้อน้ำมัน มีดังต่อไปนี้คือ
1.การตัดฟิล์มม่วง ต้องตัดให้มีขนาดใหญ่กว่าแบบที่จะถ่ายบล็อคพอประมาณ แล้วนำไปวางไว้บนกระจกเรียบหงายด้านฟิล์มขึ้น (ด้านผิวด้าน)
2.การวางกรอบบล็อคผ้าสกรีนทับแผ่นฟิล์มซิลค์สกรีน จากนั้นใช้กาวอัดที่ผสมน้ำยาไวแสงแล้ว ปาดผ่านผ้าสกรีนลงไป รีดทับกับฟิล์ม 3.นำไปทำให้แห้งในที่มืด เมื่อแห้งแล้วก็ให้ ลอกพลาสติกด้านหลังฟิล์มออกไป
4.นำกรอบผ้าสกรีน ที่เคลือบกาวอัดติดฟิล์ม ที่แห้งแล้วนั้น ไปถ่ายแสง เช่นเดียวกับวิธีการกาวอัด แต่จะต้องเพิ่มแสงขึ้นอีก ประมาณ 30 - 40 % ของการอัดบล็อคเฉพาะกาวอัด
5.การทำแม่พิมพ์ด้วยกาวอัด นั้นเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะเป็นแม่พิมพ์ที่พิมพ์งานได้อย่างมีคุณภาพดี ทั้งลวดลายที่ หยาบและละเอียด ทำได้โดยง่าย พิมพ์ได้ทั้ง สีเชื้อน้ำและสีเชื้อน้ำมัน กาวอัด เป็นสารเคมีที่เมื่อได้ผสมด้วยน้ำยาไวแสง แล้วนำไปปาดบนกรอบสกรีนที่ขึงผ้า แล้วนำไปเป่าให้แห้ง เมื่อแห้งแล้ว ส่วนใดที่ถูกแสงก็จะทำปฏิกิริยากับแสงจับตัวแข็ง และส่วนที่ไม่ถูกแสงก็จะอ่อนตัว เมื่อนำไปล้างในน้ำก็จะละลายตัวออก กาวอัดมีใช้กันอยู่ 3 แบบ มีดังต่อไปนี้คือ กาวอัดสีฟ้า กาวอัดสีชมพู และกาวอัดสีม่วง วิธีการใช้งาน ใช้กาวอัดสีชมพู 5 ส่วน ผสมกับน้ำยาไวแสง 1 ส่วนโดยน้ำหนัก ส่วนกาวอัดสีฟ้า และสีม่วงก็ให้ใช้กาวอัด 10 ส่วน ต่อน้ำยาไวแสง 1 ส่วน ควรผสมแต่พอใช้ และส่วนที่เหลือใช้ก็ให้เก็บไว้ในที่มืดและเย็น การทำแม่พิมพ์ วิธีกาวอัด มีขั้นตอน ดังนี้
1.การผสมกาวอัด กับน้ำยาไวแสงตามส่วนของกาวอัดแต่ละชนิด คนให้เข้ากัน แล้ววางทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้ฟองอากาศหมดไป
2.เทกาวอัดที่ผสมเสร็จแล้ว ลงบนกรอบสกรีนพอประมาณ แล้วใช้ยางปาด หรืออาจใช้ไม้บรรทัดปาดกาวอัดก็ได้เพื่อที่จะให้เคลือบ ผ้าสกรีนให้เรียบทั้งสองหน้า
3.นำกรอบบล็อคสกรีนที่ปาดกาวอัดแล้ว เข้าไปในห้องมืด ไม่จำเป็นจะต้องมืดสนิทก็ใช้ได้ เป่าด้วย เครื่องเป่าลมอุ่น ให้แห้งสนิด
4.เมื่อแบบแห้งสนิทแล้ว ก็นำแบบนั้นไปอัดบล็อคอาจถ่ายด้วยแสงแดด ในเวลาที่แดดจัด จะใช้ 30 วินาที จนถึง 1 นาทีเท่านั้น
5.นำไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3 - 5 นาที ฉีดน้ำเป็นฝอยล้างบริเวณที่ถ่ายแบบ กาวอัดส่วนที่ถูกแสงจะติดล้างไม่ออก กาวอัดส่วนที่ ไม่ถูกแสงเนื่องจากต้นแบบส่วนที่เป็นสีดำบังเอาไว้ จะถูกน้ำล้างออก
6.นำไปเป่าให้แห้ง เตรียมการพิมพ์ซิลค์สกรีนต่อไป การทำแม่พิมพ์ซิลค์สกรีนวิธีใช้กาวอัด สามารถทำแม่พิมพ์ ซิลค์สกรีน ที่มีลวดลายได้ ละเอียดพอสมควร ใช้พิมพ์ได้ทั้งหมึกพิมพ์เชื้อน้ำ และหมึกพิมพ์เชื้อน้ำมัน แต่การพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์เชื้อน้ำ แม่พิมพ์จะชำรุดเร็วขึ้น ซึ่งแก้ไขได้ โดยเคลือบแม่พิมพ์ซิลค์สกรีนด้วย น้ำยาแพ็ทลี่ (PATLY)สำหรับเคลือบล็อคสกรีน และควรใช้กาวอัดเป็นตัวอุดรูรั่วก่อนเคลือบ
มีวิธีการพิมพ์สกรีนได้ทั้งแบบการพิมพ์ด้วยมือ และ การพิมพ์ด้วยเครื่องจักร์ โดยทั่วไปนิยมการพิมพ์ด้วยมือ สำหรับการ พิมพ์ซิลค์สกรีน ในปริมาณการพิมพ์จำนวนไม่มากนัก การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ซิลค์สกรีน สามารถพิมพ์สอดสี(4สี โพเซท) ได้ประณีตสวยงามมาก เพราะน้ำหนักของการปาดหมึกพิมพ์สกรีน สามารถปรับตั้งและควบคุมด้วยระบบ ปรับความหนักเบา ได้ตลอดการพิมพ์ ซึ่งการพิมพ์ซิลค์สกรีนด้วยมือ จะควบคุมน้ำหนักทำได้ยากกว่าระบบเครื่อง เทคนิคของการพิมพ์ จะต้องอาศัย ประสบการ์ณ และการฝึกทักษะปฏิบัติ การพิมพ์งานจริงจึงจะสามารถพิมพ์ได้ดีมีคุณภาพ การพิมพ์โดยทั่วไป นิยมนำบล็อกสกรีน ที่อัดบล็อกเสร็จแล้วไปติดกับโต๊ะพิมพ์ ให้สามารถเปิดขึ้นลงได้ ทำฉากพิมพ์ ที่โต๊ะพิมพ์เพื่อใส่วัสดุชิ้นงาน ให้ได้ตรงฉากตำแหน่ง เดิมที่ต้องการ ฉีดสเปรย์กาวเหนียวที่โต๊ะพิมพ์ หรือการนำสติกเกอร์มาทำแจะ แทนการฉีดกาวเหนียว ใส่หมึกพิมพ์ซิลค์สกรีน วางชิ้นงานวัสดุงานพิมพ์ แล้วเริ่มการพิมพ์ เทคนิคในการพิมพ์ซิลค์สกรีนโดยละเอียด ต้องอาศัย ประสบการ์ณการฝึกฝน จึงจะทำได้ดีและมีคุณภาพ อาจสอบถามจากผู้รู้ ผู้มีประสบการ์ณ เพราะการพิมพ์ผ้า กระดาษ นามบัตรตัวนูน สติกเกอร์ ฉลากสินค้า วงจรไฟฟ้า รูปลอก กำมะหยี่ และอื่นๆ ซึ่งต่างก็มีเทคนิค แต่ละอย่าง ที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของงาน หมึกพิมพ์ระบบซิลค์สกรีน โดยทั่วไป โรงพิมพ์ซิลค์สกรีน ส่วนใหญ่จะใช้หมึกพิมพ์ของบริษัท วินสัน หรือ ชัยบูรณ์ เพราะเป็นเจ้าใหญ่ในวงการพิมพ์ซิลค์สกรีน หมึกพิมพ์ ในระบบการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน จะแตกต่างจากหมึกพิมพ์ในระบบการพิมพ์ชนิดอื่นๆ เพราะต้องการความเข้มข้นของหมึก และความละเอียดของเนื้อหมึกสูงกว่าระบบพิมพ์อื่นๆ เพื่อผลทางการพิมพ์ที่คมชัด และความคงทนถาวร ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.หมึกพิมพ์เชื้อน้ำ คือหมึกที่ผสม และล้างด้วยน้ำเหมาะสำหรับใช้พิมพ์ซิลค์สกรีนงาน ผ้าทุกชนิด
2.หมึกพิมพ์เชื้อน้ำมัน คือ หมึกที่ผสมและล้าง ด้วยน้ำมันผสม มีทั้งชนิดสีแห้งเร็วและสีแห้งช้า เหมาะสำหรับใช้ในงานพิมพ์กระดาษ สติกเกอร์กระดาษ สติกเกอร์พีวีซี สติกเกอร์ทุกชนิด ไม้ เหล็ก แก้ว ผ้า
3.หมึกพิมพ์เชื้อพลาสติก คือ หมึกพิมพ์ที่ใช้น้ำมัน ผสมหรือล้างสำหรับ สีพิมพ์พลาสติก โดยเฉพาะเป็นสีแห้งเร็ว เหมาะสำหรับ ใช้พิมพ์พลาสติกทุกชนิด ซึ่งหมึกพิมพ์เชื้อพลาสติกนี้ ยังแบ่งแยกออกไปอีกหลายชนิด ตามชนิดของพลาสติกที่จะพิมพ์ เนื่องจาก พลาสติกมีหลายชนิด เช่น พลาสติกพีวีซี พลาสติกพีพี พลาสติกพีอีทีหรืออีกชื่อหนึง เพ็ท หรือ พลาสติก โพลีเอสเตอร์ ในการเลือก ใช้หมึกพิมพ์ซิลค์สกรีนให้ถูกต้อง กับวัสดุที่จะพิมพ์นั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องคำนึงถึงประเภทชนิด สี การดูดซึม ลักษณะการ นำไปใช้งานของวัสดุชนิด นั้นๆ ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะเลือกใช้หมึกพิมพ์ได้ถูกต้อง คุณสมบัติของสีหมึกพิมพ์มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับ งานที่ต้องการจะดำเนินการพิมพ์ซิลค์สกรีน